Welcome to Blogger

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 7



บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 7

วัน  อังคาร  ที่  3  มีนาคม  พ.ศ. 2558

^-^ ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ^-^
"การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ และการจัดกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมในชั้นเรียน"

กิจกรรมที่ 1
รถไฟเหาะเเห่งชีวิต 



กิจกรรมที่ 2
กิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ



^^ ผลงานของหนู^^


>> ให้เด็กจับคู่กัน2คนให้1คนเป็นลากเส้นส่วนอีกคนจุดตามที่มีช่องตัดระหว่างเส้น โดยจะเปิดเพลงให้ฟังเเล้วลากหรือจุดตามจังหวะเพลง 
สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ 
- การฝึกสมาธิในการฟัง
- ความสามัคคีกันในการช่วยกันคิดหรือทำงานร่วมกัน
- การพูดคุยเเสดงความคิดเห็นกันว่าผลงานนี้สามารถเป็นภาพะไรได้บ้าง


กิจกรรมที่ 3 
การฝึกร้องเพลง 




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


1. ทักษะทางสังคม 
  •  การที่เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคมนั้น ไม่ได้สาเหตุมาจากพ่อแม่
  •  สภาพเเวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆ
** ทักษะทางสังคมและสภาพเเวดล้อมไม่ได้มีผลกับตัวเด็ก  ซึ่งเราควรที่จะส่งเสริมที่ตัวเด็กมากกว่าไปส่งเสริมสภาพเเวดล้อม**

   กิจกรรมการเล่น 
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  •  เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอิ่นเป็นเพื่อน แต่เป็นแะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
 ยุทธศาสตร์การสอน 
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น  ดังนั้น เด็กพิเศษจะเลียนเเบบวิธีการเล่นจากเด็กปกติ
  • ครูจะต้องเริ่มต้นสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  •  ครูต้องจดบันทึก 
  • ทำแผน IEP   => เป็นการเขียนเเผนเเบบเฉพาะบุคคล
การกระตุ้นการเลียนแบบ
  •  วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  •  คำนึงถึงเด็กทุกคน
  •  ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน  => ถ้าจับกลุ่ม 4 คน ควรเป็นเด็กพิเศษ 1 คน และเด็กปกติ 3 คน
  •  เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ => สังเกตเด็กไว้ให้เด็กในห้องรู้สึกว่าครูมองเด็กอยู่ตลอด
  • ยิ้ม และพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
** ข้อห้าม เวลาดูเด็กเป็นกลุ่ม ครูห้ามหันหลังให้เด็กกลุ่มอื่นเด็ดขาด **


วิธีการเล่นทรายของเด็ก
1. ครูควรให้เด็กเล่นโดยใช้มือเปล่าก่อน
2. เมื่อให้อุปกรณ์การเล่น ถ้าเด็ก4คน ครูควรให้เด็ก2ชิ้นต่อเด็ก4คน  เพราะถ้าให้3ชิ้นเด็กคนอื่นได้แล้วเด็กอีก1คนก็คิดว่าทำไมหนูไม่ได้เหมือนเพื่อน ครูไม่รักหนูเหรอ
3. ควรให้อุปกรณ์หรือของเล่นทีละอย่างกับเด็ก เพราะถ้าให้หมดทีเดียวเด็กจะเลือกเล่นในสิ่งที่เด็กชอบและจะไม่เห็นคุณค่าในของเล่น

1.สร้างความน่าสนใจให้เด็กคนที่จะเข้าไปเล่นกับเพื่อนมีจุดสนใจ เช่น ดูสิของเล่นเยอะเลยน่าเล่นไหม
2.เมือครูพาเด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อนเเล้ว ครูต้องคอยดูเด็กก่อน
3. ถ้าเด็กเล่นไม่ได้ยิ่งเป็นเด็กพิเศษครูจะต้องหัดเล่นหรือจับประคองมือเด็กให้เล่นให้ได้

  การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  •  ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
  •  ทำโดย " การพูดนำของครู "
 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้ กฎเกณฑ์
  •  เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
  •  การให้โอกาสเด็ก
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

Post test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
ตอบ  - เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน
         - สร้างจุดเด่นให้น่าสนใจ
         - ให้เด็กรู้จักการรอคอย
         - เด็กพิเศษต้องไม่มีอภิสิทธิเหนือกว่าเด็กปกติ
         - อย่าตำหนิเด็ก
         - อย่าหันหลังให้เด็กเวลาเดินดูเด็กทำงาน

        
การนำไปประยุกต์ใช้

  • การส่งเสริมเเละพัฒนาทักษะเด็กพิเศษในด้านสังคม
  • วิธีการเขียนเเผนเฉพาะบุคคล เช่น สิ่งที่เด็กถนัด ไม่ถนัดคืออะไร ชอบ ไม่ชอบอะไร และการส่งเสริมอะไรให้กับเด็ก
  • สิ่งที่ทราบหรือรู้ไว้เมื่อเป็นครู คือห้ามเด็ดขาดเวลดูเด็กทำงานเป็นกลุ่ม ครูห้ามหันหลังให้เด็ก
  • การจับกลุ่มให้เด็กต้องจับ 3:1 คือเด็กปกติ 3 คน และเด็กพิเศษ 1 คน เพื่อเด็กปกติจะได้ช่วยกันดูเเล ช่วยเหลือเด็กพิเศษได้
  • ได้ทราบเทคนิควิธีการให้อุปกรณ์การเล่นกับเด็กควรให้เด็กเล่นทีละอย่าง
  • เทคนิคการฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำไปใช้ในการสอนหรือทำกิจกรรมให้กับเด็ก
  • การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ

การประเมิน 
  • ประเมินตนเอง   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมที่ได้เรียนและสนใจตอบคำถามอาจารย์ ขณะที่เรียนอาจารย์ก็ยกตัวอย่างเนื้อหาที่สำคัญให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ชอบเรียนกับอาจารย์มากเวลาสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่เบื่อ ได้ยิ้มหัวเราะ และชอบอาจารย์ร้องเพลงจัง อาจารย์ร้องได้ไพเราะนุ่มนวลน่าฟังมากๆๆ
  • ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบให้ความสนใจในการตอบคำถาม ให้ความร่วมมือห้องเรียนดีมาก  และมีการจดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
  • ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการเข้าใจง่ายมียกตัวอย่างเพิ่มเติม ให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น อาจารย์สอนสนุกไม่เครียด ไม่น่าเบื่อ และยังมีกิจกรรมรถไฟเหาะเเห่งชีวิตที่ทำให้นักศึกษารู้คำตอบเเล้วตลกหัวเราะเฮอากันทั้งห้องและกิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดี ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับเด็กพิเศษ และเด็กปกติได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น