Welcome to Blogger

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 10


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 10

วันอังคาร  ที่  24  มีนาคม  พ.ศ. 2558

วันนี้สอบเก็บคะเเนนย่อย 5 ข้อ  10  คะเเนน
 เพื่อเป็นการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาในสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดในเรื่องของการศึกษาแบบเรียนรวม


การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  ข้อสอบวันนี้ก็ไม่ยากมากนัก เพราะเป็นการตอบจากความเข้าใจของตนเองไม่มีผิด ไม่มีถูก เเต่รู้สึกว่าตัวเองทำข้อสอบได้ช้ามาก
  • ประเมินเพื่อน :   เพื่อนๆทุกคนทำสอบอย่างตั้งใจ
  • ประเมินอาจารย์ :  วันนี้อาจารย์คุมสอบเเบบนิ่งๆเฉยๆไม่ค่อยยิ้มพูดคุยกับนักศึกษาเหมือนสัปดาห์ที่แล้ว

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 9


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 9 

วัน อังคาร  ที่ 17  มีนาคม  พ.ศ.2558
ความรู้เนื้อหา / กิจกรรมที่ได้รับในวันนี้

" การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด ( โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร )
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การเเต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน 
** ครูจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองได้มีอิสระ เพราะเด็กพิเศษไม่ค่อยมีอิสระในการช่วยเหลือตนเองมากนัก**

 การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนเเบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือผู้ใหญ่  เพราะเด็กพิเศษส่วนมากอยากทำอะไรได้- - - ด้วยตนเองจึงเรียนรู้จากการเลียนเเบบ

 ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่เด็กพิเศษภาคภูมิใจในตนเองมากที่สุด
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น ( ใจเเข็ง )
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้เเม้กระทั่งสิ่งเด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- " หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้ "ห้ามพูดคำนี้กับเด็กเด็ดขาด
ตัวอย่าง  เด็กพิเศษผูกรองเท้าอยู่ แล้วเพื่อนทั้งห้องเข้าเเถวรอ ครูต้องห้ามทิ้งเด็กไว้คนเดียว แต่ให้ใช้เเรงเสริมกับเด็กที่รอ  เช่นรอเพื่อนก่อนเพื่อนใส่ใกล้เสร็จแล้วเหลือนิดเดียวเอง

จะช่วยเมื่อไร
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  เเต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตารางทักษะการช่วยเหลือของเด็ก





ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- เเบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
ตัวอย่าง การย่อยงาน "การรูดซิบเสื้อ"
ขั้นที่หนึ่ง  นำชายเสื้อมาชิดกันทั้งสองข้าง
ขั้นที่สอง  นำอีกข้างมาสอดลงตรงล็อก
ขั้นที่สาม   มือข้างซ้ายจับปลายเสื้อให้ตรง มือขวาจับซิบไว้
ขั้นที่สี่       รูดซิบขึ้น
ขั้นที่ห้า     พับซิบลงให้เรียบร้อย

 การย่อยงานของเด็ก   " การเข้าส้วม"

  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม

>> นี่คือการสอนไปข้างหน้า ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้ตามกระบวนการ
>> การสอนย้อนกลับ คือ สอนตั้งเเต่ต้นมาให้เด็ก แล้วลองให้เด็กล้างมือเอง เช็ดมือเอง  พอวันถัดไปก็สอนให้เด็กทำตั้งเเต่ต้น เเล้วลองให้เด็กดึงกางเกงขึ้นเอง  ล้างมือเอง เช็ดมือเอง ทำอย่างนี้ย้อนไปทีละขั้นเรื่อยๆ  เด็กก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมาก

 การวางเเผนทีละขั้น
- เเยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด










สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานเเต่ละอย่างเป้นขั้นๆ
- ความสำเร็จชั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

^ _^ กิจกรรมวันนี้ ^_^

ไร่สตอว์เบอรี่ เชียงใหม่

คำตอบ
-  เป็นรั้วไม้ไม่สูงมาก
- ไม่หยิบ ไม่กิน ไม่ชอบ 
- ไม่ได้กิน
- เฉยๆก็ไม่ได้กิน


" วงกลมสีบอกตัวตน"


ประโยชน์ได้รับ
ด้านร่างกาย => ได้ฝึกกล้ามเนื้อมือ การประสานกันระหว่างมือกับตา
ด้านอารมณ์  => ได้เลือกสีทีตนเองชื่นชอบมาระบายเป็นวงกลม
ด้านสังคม => ได้พุดคุยกับเพื่อน  ได้ความสามัคคีในการไปติดที่ต้นไม้ให้สองฝั่งเท่ากัน
ด้านสติปัญญา => ได้มิติสัมพันธ์ในการทำเป็นวงกลม  ฝึกสมาธิในการทำ

การนำไปประยุกต์ใช้
  • การได้เรียนรู้วิธีการย่อยงานให้เด็กเป็นลำดับขั้น ยิ่งย่อยละเอียดยิ่งดี
  • เรียนรู้สิ่งที่ห้ามพูดหรือกระทำต่อเด็ก เช่น " หนูทำช้า" ,  "หนูทำไม่ได้"
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้รู้สึกว่าตนเองมีอิสระในการเรียนรู้ และช่วยเหหลือตนเองได้ 
  • ครูไม่ต้องช่วยเหลือเด็กทุกๆอย่าง ช่วยเหลือเฉพาะเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
  • การใช้คำพูดใช้เเรงเสริมที่จะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

 การประเมิน 
  • ประเมินตนเอง  : วันนี้พออาจารย์พูดถึงเรื่องเลือกโรงเรียนที่จะออกไปสังเกตเทอมหน้า หนูรู้สึกคิดมากๆว่าเทอมหน้าถ้าออกไปสังเกตเด็ก หนูจะสอนเด็กได้ไหม จะเขียนเเผนการสอนได้หรือเปล่า เเล้วจะพูดยังไงสอนยังไงให้เด็กเข้าใจสิ่งที่พูด เเล้วจะเรียงลำดับการสอนยังไง แล้วจะคลุมเด็กได้ไหม พูดตรงนะค่ะรู้สึกกลัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆเลย ( เเอบเครียดนิดหน่อยเพราะตัวเองไม่มีความสามารถอะไรที่เด่นอะไร ) และก็รู้สึกเคร้าใจถ้าอาจารย์จะไม่ได้สอนที่สาขานี่อีก อยากให้อาจารย์สอนพวกหนูต่อไปเรื่อยๆๆเพราะไม่มีอาจารย์คนไหนจะสอนวิชาเด็กพิเศษได้เข้าใจและเรียนสนุกอย่างอาจารย์แล้วนะค่ะ เรียนเเล้วมีความสุข ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ  ได้ความรู้เพิ่มเติมที่ดีๆอีกมากมาย ^-^
  • ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละฟังความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์ได้พูดได้เล่าให้ฟัง และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมในห้องเรียน 
  • ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่าง การทำท่าทางประกอบ การอธิบายอย่างละเอียดให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น และมีการพูดบอกสิ่งที่ไม่ควรทำต่อเด็กในการที่จะไปเป็นครู  อาจารย์ให้ทั้งความรู้เทคนิคต่างๆและคุณค่าที่ดีๆกับนักศึกษา คอยบอก  คอยสอน  คอยเเนะนำสิ่งดีๆให้นักศึกษาได้นำไปเป็นเเบบอย่างการเป็นครูที่ดีในอนาคต  ( ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ ) ^-^ 

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 8

วัน  อังคาร  ที่  10  มีนาคม  พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรมที่เรียนในวันนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว เส้น คั่น
^-^ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ^-^
2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม ( เด็กส่วนมากจะมีคำศัพท์เฉพาะตัวของเด็ก )

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ จะออกเสียงว่า  สือ
  • การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง (เด็กอนุบาลส่วนมากจะพูดติดอ่าง เเต่มันเป็นเรื่องปกติ พอเริ่มโตขึ้นเดี๋ยวก็จะหายไปเอง )

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
  • ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย  คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐาน
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การเเสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • **เด็กปกติเน้น 4 ด้าน ฟัง พูด  อ่าน  เขียน   ส่วนเด็กพิเศษเน้น => การรับรู้ภาษา และการเเสดงออกทางภาษา**

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา (ครูต้องเข้าใจภาษาเด็ก)
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด (กิริยาท่าทาง)
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ ( ชี้เเนะหากจำเป็น )
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ( ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ 
>> เป็นกิจกรรมที่เหมาะใช้กับเด็กพิเศษ และครูสามารถจะเดินเข้าไปถาม หรือคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กทำเองไม่ได้จริงๆ เช่น
1.เข้าไปถาม  ทำอะไรค่ะ 
2.เข้าไปถาม   หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม
3.เข้าไปถาม   ครูใส่ผ้ากันเปื้อนให้หนูนะ
4.ลองพูดตามครูสิ  ผ้ากันเปื้อน
5.สวมผ้ากันเปื้อนให้เด็ก

Post Test

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
ตอบ  - การเล่านิทาน
         - การใช้คำศัพท์
         - การร้องเพลง หรือกลอน
         - การใช้คำถามปลายเปิด
         - การให้เด็กบอกความต้องการของเด็ก
         - เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดตอบ

กิจกรรม
1. เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า /  เเนะเเนวทางการสอบบรรจุครู
           อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครูในการสอบนั้น จะแบ่งออกเป็น              ภาค ก.  เนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การศึกษาไทย, ความรู้ทั่วไป, วิชา 9 มาตรฐานวิชาชีพ                      ภาค ข.  เนื้อหาที่เป็นรายวิชาเอก 
สอบสัมภาษณ์ >> ผู้สัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียน ในการสัมภาษณ์ ต้องนำเสนอการสอน 1 กิจกรรมที่ตนเองถนัด 
>>เป็นเกมทายใจจากแบบทดสอบจิตวิทยา



2. ดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู  จังหวะกาย  จังหวะชีวิต


ประโยชน์ที่ได้จากการดูวีดีโอนี้
ดนตรีการเคลื่อนไหวและจังหวะยังช่วยพัฒนาเด็กพิเศษทั้ง 4 ด้าน
-ด้านร่างกาย =>เด็กก็จะได้ฝึกความสมดุลของรางกาย ไม่ว่าเป็นการใช้มือ การเดิน การวิ่งเล่น การก้าวเท้าไปตามจังหวะ
-ด้านอารมณ์=> พอเอาเพลงหรือดนตรีเข้ามาช่วยเด็กพิเศษก็จะเริ่มตื่นเต้นและอยากร่วมกิจกรรมมากขึ้น
-ด้านสังคม =>เด็กได้รู้จักการรอคอย  การฟัง
-ด้านสติปัญญา=>  จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ การฟังจังหวะดนตรี การฝึกสมาธิ
**ซึ่งกิจกรรมทุกกิจกรรมจะช่วยพัฒนาให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้เเละมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

3. กิจกรรมดนตรีบำบัด



ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
- การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ
- การฝึกสมาธิในการฟังจังหวะดนตรี
- การประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
- การมีมิติสัมพันธ์
- การพูดคุยกันระหว่างเพื่อน หรือเเสดงความคิดเห็นกันในกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น การเล่านิทาน การร้องเพลง
  • ได้เรียนรู้ว่าขณะเด็กพูด ห้ามพูดขัดจังหวะเด็ก ห้ามไปบอกให้เด็กให้พูดช้าๆ หรือทำอะไรให้คิดก่อนพูด เพราะสิ่งเหล่านี้ครูไม่ควรทำหรือพูดกับเด็กเป็นอันขาด
  • ครูจะต้องไม่ควรเปรียบบเทียบการพูดหรือการกระทำของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • ได้รู้ว่าครูจะต้องเข้าใจภาษาของเด็ก เพราะเด็กส่วนมากจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเด็ก
  • การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสามารถช่วยฝึกสมาธิด้านการฟังให้กับเด็ก และกิจกรรมนี้สามารถจัดได้ทั้งเด็กปกติ และเด็กพิเศษ
  • ได้รู้เเนวทางว่าครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรือเเสองออกทางภาษามากขึ้น
  • ได้รู้ว่าครูอาจใช้คำพูดกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง และครูจะต้องเป็นผู้ฟังมากว่าเป็นผู้พูด  ( ครูไม่ควรพูดมากจนเกินไป )

การประเมิน
  • ประเมินตนเอง:  วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยอาจทำให้ห้องเรียนดูเยอะเกินไป ทำให้เสียงดังจากการพุดคุยกันของเพื่อน ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน และไม่ได้ยินสิ่งที่อาจารย์พูดมากนัก เเต่ก็เข้าใจสิ่งที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน และร่วมมือกันทำกิจกรรมในห้องเรียน
  • ประเมินเพื่อน:  เพื่อนๆตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  เเต่อาจจะดูวุ่นวายกันนิดหน่อยเนื่องจากมีสมาชิกเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยทำให้เยอะขึ้น และมีการพูดคุยกันเสียงดัง  
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนกระชับเข้าใจเนื้อหามากขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจพร้อมทำท่าประกอบ และอาจารย์ยังให้ความรู้เเนวทางในการสอบบรรจุครูมาบอกให้นักศึกษาที่สนใจ ฟัง เข้าใจวิธีการสอบพร้อมกับวิธีการเตรียมตัวว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ดีกับนักศึกษาเป็นอย่างมาก