Welcome to Blogger

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558 

ความรู้ที่ได้รับ
เนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้เกี่ยวกับบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม และมีกิจกรรมในชั้นเรียนโดยสเก็ตภาพรูปดอกทานตะวัน โดยอาจารย์มีเเบบมาให้ดู พร้อมกับฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย

กิจกรรมที่1

=>วาดรูปดอกทานตะวัน
=>บรรยายสิ่งที่เห็นจากภาพ


นี่คือผลงานของหนูค่ะ


กิจกรรมที่2

"เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม "
  •  ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจวัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่เเสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด
 ** ครูต้องไม่วินิจฉัยหรือตัดสินว่าเด็ก เป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ แต่อาจจะสัณนิฐานได้จากพฤติกรรมหรืออาการของเด็ก
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อ หรือระบุประเภทเด็ก
=> ห้ามตั้งฉายาให้เด็กเพราะจำทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย และถ้ายิ่งเป็นพิเศษเด็กจะรู้สึกเเย่มากที่สุด ห้ามไปใช้ชื่อหรือลักษณะอะไที่ไม่ดีเรียกเด็กเพราะจะทำให้ชื่อหรือลักษณะเหล่าเป็นตัวประทับตาเด็กตลอดและเด็กอาจกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆซึ่งจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีสำหรับเด็ก
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ 
=> พ่อแม่ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกมีปัญหา และไม่ต้องการให้ครูมาย้ำ แต่ครูควรพูดในทางบวก 
พูดในสิ่งที่เด็กทำได้ ก็เท่ากับการบอกในทางอ้อมว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ 
  •  ครูทำอะไรบ้าง
=> ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
=>ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม ในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
=> สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ 
**ครูต้องมองเด็กเป็นภาพรวม ต้องสังเกตพฤติกรรมตลอด เพราะครูอยู่กับเด็กตลอดเวลา ไม่ใช่เเค่วันสองวัน**
=>จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  • สังเกตอย่างมีระบบ
=>ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู เพราะครูจะใกล้ชิดเด็กและเห็นสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงที่เด็กอยู่โรงเรียน
  • การใช้เเบบสังเกต
=>ใช้เเค่เด็กบางคนในการสังเกต
=>เเบบสังเกตเด็กต้องมองให้เป้นภาพรวมก่อนหรือสังเกตเป็นระยะเวลานานจึงจะติ๊กข้อมูลลงไป
  • ตรวจสอบ
=>ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
=>เเนวทางที่ทำให้ครูและพ่อเเม่เข้าใจเด็กมากขึ้น
=>บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
  • ข้อควรระวัง
=>ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
=>พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
=>ครูจะต้องลำดับความสำคัญของปัญหาและเเก้ให้ตรงจุด โดยดูว่าอันไหนสำคัญหรือหนักก็ต้องเเก้ก่อน อันไหนไม่สำคัญก็ปล่อยไปก่อน
  • การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่าย 
=> การนับจำนวนครั้งของพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง และระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม เช่น เมื่อไม่พอใจ เด็กจะกระทืบเท้า หรือทุบโต๊ะ วันละ 20 ครั้ง เป็นต้น

 การบันทึกต่อเนื่อง ทำให้มีข้อมูลคุณภาพมากที่สุด

=> ให้รายละเอียดมาก ทำให้ได้คุณภาพ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง แล้วบันทึกหรือบรรยายตามสภาพจริง โดยไม่เข้าไปเเนะนำช่วยเหลือ



 การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

=> บันทึกลงบัตรเล็กๆ ( เพื่อเป็นการย้ำเตือนครูว่าอย่าเขียนเยอะ มีกระดาษเขียนเเค่นี้ ) 
=>เป็นการบันทึกสั้น เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ในช่วงเวลาหนึ่ง 
 ตัวอย่าง เช่น น้องจอยปืนบันไดโค้งได้ 5 ขั้น โดยใช้เท้าซ้ายก้าวออกไปก่อน แล้วจึงเดินเท้าขวาจับราวบันไดให้เเน่นทั้งสองมือ



  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป 
=> ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง 
=> พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
  • การตัดสินใจ
=>ครูตเองตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ไตร่ตรองให้ดีก่อนพูด
=> พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการ้รียนรู้ของเด็กหรือไม่ 

กิจกรรมที่ 3
ร้องเพลง " ฝึกกายบริหาร "

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งเเรง

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งเเรง

รูปทรงสมส่วนเเคล่วคล่องว่องไว

รูปทรงสมส่วนเเคล่วคล่องว่องไว
ผู้เเต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

การนำไปประยุกต์ใช้
  • ได้รู้เเนวทางว่าไม่ควรตัดสินหรือวินิจฉัยเด็กในทันที เเต่ควรมองเด็กให้เป็นภาพรวมก่อนและสังเกตเป็นระยะนานพอที่จะวินิจฉัยอาการหรือ พฤติกรรมบกพร่องของได้เด็ก
  • ได้รู้เเนวทางในการตัดสินใจหรือการให้ความสำคัญของปัญหาที่จะได้รับการเเก้ไขก่อน- หลังตามลำดับ
  • ได้รู้วิธีว่าเราควรบันทึกหรือบรรบายพฤติกรรมของเด็กตามสภาพความเป็นจริง โดยไม่ใส่ความรู้สึกตนเองลงไป
  • การช่วยเหลือชี้เเนะให้ความรู้กับพ่อเเม่ผู้ปกครองในการดูเเลและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • ครูควรตระหนักและรู้จักวางตัวให้ดีต่อเด็ก มองเด็กทุกคนในทางที่ดีในเเง่บวก ไม่มองหรือว่าเด็กในทางลบ
  • ได้เรียนรู้ว่าถ้าอนาคตเป็นครูเราจะไม่พูดหรือว่าเด็กในทางที่ไม่ดี เช่น การตั้งฉายาให้เด็กห้ามทำเพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมีปมด้อย และอาจเป็นตราประทับติดตัวเด็กไปตลอด
  • ครูที่ดีควรมีสื่อหรือกิจกรรมที่หลากหลายในการสอนเด็ก การร้องเพลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ครูสามารถจะกิจกรรมในชั้นเรียนกับเด็กได้ เเละการร้องเพลงยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในการคิดท่าทางอย่างสร้างสรรค์ได้
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง: วันนี้รู้สึกสนุกกับการเรียนมากได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ได้วาดรูปดอกทานตะวัน เเต่รู้สึกว่าตนเองจะวาดช้าและทำงานช้าตลอดเพื่อนส่วนมากทำเสร็จเเล้ว เเต่หนูยังทำไม่เสร็จเลยรู้สึกว่าเป็นตนเองทำงานช้ามาก( หนูเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลยในการที่จะทำงานในเเต่ละชิ้นที่ใช้เวลาจำกัด) แต่หนูก็ทำงานที่อาจารย์สั่งครบถ้วนได้ ( อาจช้าไปนิดนะค่ะ ) และก็ชอบกิจกรรมร้องเพลงด้วยถึงจะร้องไม่ค่อยเพราะเพี้ยนไปบางหรือเหมือนท่องอขยานไปบางเเต่รับรองว่าตั้งใจสุดๆเลยค่ะ เพราะว่าหนูรู้สึกว่าเพลงเด็กเวลาร้องหรือฟังรู้สึกเป็นจังหวะสนุกแฝงด้วยทำนองน่ารักๆอยู่ในเพลงฟังเเล้วเหมือนโลกสดใส  
  • ประเมินเพื่อน:  เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานมาก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ตั้งใจวาดภาพดอกทานตะวันทุกคนเลย บางคนก็มาถ่ายรูปดอกทานตะวันบนจอที่อาจารย์ให้เป็นเเบบ เพื่อนำไปวาดบางคนก็มองที่จอเเล้ววาด บางคนสายตาอาจไม่ค่อยดีอาจใส่เเว่นตาเพื่อเป็นการมองเห็นที่มีความชัดยิ่งขึ้น ( หนูก็ใส่ค่ะ เพื่อความคมชัดในการเก็บรายละเอียดของภาพ ล้อเล่นค่ะสายตาไม่ดีนั่นเองค่ะ =_=  )   
  • ประเมินอาจารย์:อาจารย์สอนสนุก ให้ความรู้เนื้อหาที่เข้าใจง่ายชัดเจน หนูชอบเวลาอาจารย์เล่าเรื่องหรือเล่าประสบการณ์ต่างๆ เวลาอาจารย์พูดหรือเล่าอะไรสีหน้า เเววตา น้ำเสียงของอาจารย์ ทำให้รู้สึกอบอุ่นเเละมีรอยยิ้มอย่างบอกไม่ถูก ถึงเเม้เรื่องอาจจะไม่ดูสนุกหรือน่าตื่นเต้นมากนัก เเต่ทุกคนนั้งเงียบรอฟังอาจารย์รอลุ้นอาจารย์เล่าไปเรื่อยๆ และตอนที่อาจารย์ร้องเพลงทำให้บรรยายกาศในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่น่าเบื่อเลยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น