Welcome to Blogger

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 6


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 6

วัน  อังคาร  ที่  17  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558


วันนี้ห้องหนู กลุ่ม 105 มาเซอร์ไพรส์วันเกิดย้อนหลังให้อาจารย์เบียร์ค่ะ

รวมภาพบรรยายกาศของวันนี้


วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 5


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 5

วัน อังคาร ที่  10  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558

           เนื้อหาที่่เรียนวันนี้ สอนเกี่ยวกับ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ พร้อมทำกิจกรรมในห้องเรียน และการฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย

กิจกรรม : สเก็ตภาพมือของฉัน
  • ให้นักศึกษาสวมถุงมือเเล้ววาดมือข้างที่สวมถุงมือไว้ ว่าเราสังเกตหรือจำจดรายละเอียดของมือเราได้มากน้อยเเค่ไหน




จากกิจกรรมนี้  >> ทำให้รู้ว่าการบันทึกเด็ก ควรบันทึกสิ่งที่เห็น เห็นตอนไหนก็บันทึกเลย ไม่งั้นเราอาจจะลืมหรือจำจดได้ไม่ละเอียดหากมาบันทึกทีหลัง 

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • ทักษะของครูและทัศนคติ
=> การมองเห็นการปรับความรู้สึกต่อทัศนคติตนเอง
=> การมองเห็นควรมองเด็กเหมือนกันทั้งหมด
=> เป็นครูต้องมองเด็กและรู้จักเด็กเเต่ละคนให้ดีทุกคน
  • การฝึกเพิ่มเติม
=> อบรมระยะสั้น สัมมนา
=> สื่อต่างๆ
  • เข้าใจภาวะปกติ
=> เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่าง ( ต.ย.เช่น 20 คนในห้องเรียนจะมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่างกัน
=> รู้จักเด็กเเต่ละคน และมองเด็กให้เป็นเด็ก
  • การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
=>  การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความเเตกต่างของเด็กเเต่ละคนได้ง่าย
  •  ความพร้อมของเด็ก
=>วุฒิภาวะ ( เด็กเเต่ละคนในห้องจะมีพฤติกรรมหรือลักษณะไม่ค่อยต่างกันมาก เเต่ถ้าเด็กเป็นต่างชั้น เช่น อ.1 อ.2 จะต่างกันเยอะ
=> เเรงจูงใจ   ในห้องเรียนจะต่างกันเยอะ เเต่ถ้าเด็กอยากเรียนเหมือนกันเเรงจูงใจก็เหมือนกัน
=> โอกาส   เด็กแต่ละคนมีโอกาสเรียนต่างกัน  เด็กปกติย่อมมีโอกาสเรียนสูงกว่าเด็กพิเศษ
** กิจกรรมก็อย่าให้ยากเกินไป หรือง่ายเกินไป  เเต่ทุกกิจกรรมต้องพัฒนาเด็กให้มากที่สุด
  • การสอนโดยบังเอิญ
=> จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเข้ามาหาครูในช่วงว่างๆ ส่วนมากจะเป็นเด็กพิเศษ
ตัวอย่าง น้องดาวน์เห็นมด น้องก็จะนั่งดูมด ครูเห็นน้องดูอยู่ ครูสามารถเข้าสอนได้  เช่น นี่คือมดนะลูก พูดซิมด เป็นการสอนให้เด็กเข้าใจสิ่งนี้คืออะไร เรียกว่าอะไร
  • อุปกรณ์
=> มีลักษณะง่ายๆ
=> ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
=> เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนเเบบเด็กปกติ
=> เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
** ของเล่นเด็กพิเศษจะต้องไม่เเบ่งเพศและของเล่นนั้นต้องไม่บล็อกวิธีเล่น เช่น  เลโก้ ร้อยลูกปัด
** การเล่นคู่ขนาน คือ เด็กต่างคนต่างเล่น แต่ต่างฝ่ายก็จะหันมองกัน น้องดาวน์จะหันมองเพื่อนที่เก่งเล่นและเลียนเเบบวิธีการเล่น
  • ตารางประจำวัน
=> เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนเเปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
=> กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำยนายได้
=> เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
=> การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
=> คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
** ตัวอย่าง ตารางกิจกรรมในเเต่ละวันของเด็ก  เช่น 1. กิจกรรมการเล่นเสรี  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์  3. กิจกรรมศิลปะ  4. กิจกรรมกลางเเจ้ง  5. ล้างมือ กินข้าว อาบน้ำ  นอน

ทัศนคติของครู
  • ความยืดหยุ่น
=>การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
=>ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
=>
ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
  • การใช้สหวิทยาการ
=> ใจกว้างต่อคำเเนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
=> สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
=> การเก็บข้อมูลจากอาชีพอื่นไว้พื่อเป็นฐานให้เรามีความรู้หลากหลายจากอาชีพอื่นๆ
เช่น การร้องเพลงที่แฝงไปในกิจกรรม

การเปลี่ยนพฤตกรรมและการเรียนรู้
  • เด็กทุกคนสอนได้
=> เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
=> เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
  • เทคนิคการให้เเรงเสริม  ( เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ )
=> ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
=> มีเเนวโน้มจะพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
=> หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
  • วิธีการเเสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
=> ตอบสนองด้วยวาจา  การชม
=> การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
=> พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
=> สัมผัสทางกาย  
=> ให้ความช่วยหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
  • หลักการให้เเรงเสริมในเด็กปฐมวัย
=> ครูต้องให้เเรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
=> ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กเเสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
=> ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมี่พึ่งประสงค์
  • การเเนะนำหรือบอกบท 
=>  ย่อยงาน
=>  ลำดับความยากง่ายของงาน
=>  การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
=> การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
  • ขั้นตอนการให้เเรงเสริม
=> สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
=> วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานเเต่ละขั้น
=> สอนจากง่ายไปยาก
=> ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
 =>ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
=> ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
=> ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
=> ไม่ดุหรือตี
  • การกำหนดเวลา
=> จำนวนและความถี่ของเเรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
** เฉพาะช่วงที่เด็กพฤติกรรม
  • ความต่อเนื่อง
=> พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
=> สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
  • เด็กตักซุป
=> การจับช้อน
=> การตัก
=> การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อจะเข้าปาก
=> การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้รดรดคาง
=> การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
  • การลดหรือหยุดเเรงเสริม
=> ครูจะงดเเรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
=> ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
=> เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
=> เอาเด็กออกจากของเล่น
  • ความคงเส้นคงวา => คนเป็นครูต้องเสมอต้นเสมอปลาย (เป็นยังไงก็เป็นเเบบนั้น )
กิจกรรม Post test
  • การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  การที่เด็กเข้ามาถามครูช่วงว่างๆ 
  • การสอนโดยบังเอิญครูต้องพึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ครูต้องพร้อมให้ความรู้กับเด็กเสมอ เมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ
  • ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นกิจกรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงบ่อยๆจนเกินไป  เด็กสามารถคาดเดาได้  รู้สึกปลอดภัย มั่นใจในการทำกิจกกรรม และมีระยะเวลาที่พอเหมาะ
  • การให้เเรงเสริมต่อเด็ก  มีวิธีการอย่างไร
ตอบ  การให้เเรงเสริม เมื่อเด็กเเสดงพฤติกรรมอันพึ่งประสงค์  เช่น การให้คำชมเชย การให้รางวัล  การพยักหน้ารับ  ยิ้ม  


กิจกรรม : ร้องเพลงเด็กปฐมวัย
เพลง  ผลไม้
ส้มโอ เเตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ  ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว  เเตงกวา
คะน้า  กว้างตุ้ง  ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง กะหล่ำปลี

เพลง  ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
เหลือง  แดง  ม่วงมี  เเสด  ขาว  ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล 
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา 
เข็ม  เเก้ว  ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี
ผู้เเต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน





การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความที่ได้การเรียนไปปรับประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้
  • นำวิธีการสอนเด็กพิเศษกับเด็กปกติมาจัดกิจกรรม / ประสบการณ์เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเเต่ละคนและกิจกรรมจะต้องพัฒนาเด็กให้ได้มากที่สุด
  • ความรู้ที่ได้อีกหนึ่งคือ การเป็นครูจะต้องมองเด็กให้เป็นเด็กทุกคน ไม่ว่าจะมีเด็กพิเศษ ครูก็จะต้องมองว่าเด็กพิเศษเป็นเด็กเหมือนกัน
  • การนำเทคนิควิธีการเสริมเเรงไปพูดหรือใช้กับเด็กเมื่อเด้กมีพฤติกรรมที่ดี เช่น การพูดให้คำชมเชย
  • วิธีการเลือกอุปกรณ์การเป้นเทคนิคที่เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตของการเป็นครูได้
  • รู้เทคนิควิธีการร้องเพลงที่หลากหลายเพื่อนำเพลงไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก

การประเมิน

  • ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาความรู้ และทำกิจกรรมวาดมือของตนเองซึ่งทำให้คิดว่ามือของเรา เราก็ยังไม่จดจำรายละเอียดบนมือได้ทั้งหมดทั้งๆที่เราใช้มือจับสัมผัสสิ่งต่างๆตลอดเวลา  ทำให้เรารู้ว่าถ้าจะเป็นครูเราควรจดบันทึกเด็กในสิ่งที่เห็นหรือเด็กเเสดงพฤติกรรม  เห็นตอนไหนก็บันทึกเลย ไม่งั้นถ้ามาบันทึกทีหลังเราก็ไม่สามารถจำรายละเอียดได้ทั้งหมดและอาจจะใช้ความรู้สึกของเราลงไปด้วย
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน  เช่น กิจกรรมวาดรูปมือทุกคนตั้งใจทำกันมาก  และกิจกรรมร้องเพลง
  • ประเมินอาจารย์:อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจง่ายพร้อมอธิบายรายละเอียดให้นักศึกษาฟังได้ชัดเจน มีการเล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้นักศึกเข้าใจมากยิ่งขึ้น สอนสนุกมีเพลงมาสอนที่หลากหลายทำให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนหรือการเป็นครูได้ 



วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกหลังการเเรียน ครั้งที่ 4

วัน อังคาร  ที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2558


" วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ "



วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558 

ความรู้ที่ได้รับ
เนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้เกี่ยวกับบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม และมีกิจกรรมในชั้นเรียนโดยสเก็ตภาพรูปดอกทานตะวัน โดยอาจารย์มีเเบบมาให้ดู พร้อมกับฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย

กิจกรรมที่1

=>วาดรูปดอกทานตะวัน
=>บรรยายสิ่งที่เห็นจากภาพ


นี่คือผลงานของหนูค่ะ


กิจกรรมที่2

"เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม "
  •  ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจวัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่เเสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด
 ** ครูต้องไม่วินิจฉัยหรือตัดสินว่าเด็ก เป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ แต่อาจจะสัณนิฐานได้จากพฤติกรรมหรืออาการของเด็ก
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อ หรือระบุประเภทเด็ก
=> ห้ามตั้งฉายาให้เด็กเพราะจำทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย และถ้ายิ่งเป็นพิเศษเด็กจะรู้สึกเเย่มากที่สุด ห้ามไปใช้ชื่อหรือลักษณะอะไที่ไม่ดีเรียกเด็กเพราะจะทำให้ชื่อหรือลักษณะเหล่าเป็นตัวประทับตาเด็กตลอดและเด็กอาจกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆซึ่งจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีสำหรับเด็ก
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ 
=> พ่อแม่ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกมีปัญหา และไม่ต้องการให้ครูมาย้ำ แต่ครูควรพูดในทางบวก 
พูดในสิ่งที่เด็กทำได้ ก็เท่ากับการบอกในทางอ้อมว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ 
  •  ครูทำอะไรบ้าง
=> ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
=>ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม ในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
=> สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ 
**ครูต้องมองเด็กเป็นภาพรวม ต้องสังเกตพฤติกรรมตลอด เพราะครูอยู่กับเด็กตลอดเวลา ไม่ใช่เเค่วันสองวัน**
=>จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  • สังเกตอย่างมีระบบ
=>ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู เพราะครูจะใกล้ชิดเด็กและเห็นสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงที่เด็กอยู่โรงเรียน
  • การใช้เเบบสังเกต
=>ใช้เเค่เด็กบางคนในการสังเกต
=>เเบบสังเกตเด็กต้องมองให้เป้นภาพรวมก่อนหรือสังเกตเป็นระยะเวลานานจึงจะติ๊กข้อมูลลงไป
  • ตรวจสอบ
=>ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
=>เเนวทางที่ทำให้ครูและพ่อเเม่เข้าใจเด็กมากขึ้น
=>บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
  • ข้อควรระวัง
=>ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
=>พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
=>ครูจะต้องลำดับความสำคัญของปัญหาและเเก้ให้ตรงจุด โดยดูว่าอันไหนสำคัญหรือหนักก็ต้องเเก้ก่อน อันไหนไม่สำคัญก็ปล่อยไปก่อน
  • การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่าย 
=> การนับจำนวนครั้งของพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง และระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม เช่น เมื่อไม่พอใจ เด็กจะกระทืบเท้า หรือทุบโต๊ะ วันละ 20 ครั้ง เป็นต้น

 การบันทึกต่อเนื่อง ทำให้มีข้อมูลคุณภาพมากที่สุด

=> ให้รายละเอียดมาก ทำให้ได้คุณภาพ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง แล้วบันทึกหรือบรรยายตามสภาพจริง โดยไม่เข้าไปเเนะนำช่วยเหลือ



 การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

=> บันทึกลงบัตรเล็กๆ ( เพื่อเป็นการย้ำเตือนครูว่าอย่าเขียนเยอะ มีกระดาษเขียนเเค่นี้ ) 
=>เป็นการบันทึกสั้น เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ในช่วงเวลาหนึ่ง 
 ตัวอย่าง เช่น น้องจอยปืนบันไดโค้งได้ 5 ขั้น โดยใช้เท้าซ้ายก้าวออกไปก่อน แล้วจึงเดินเท้าขวาจับราวบันไดให้เเน่นทั้งสองมือ



  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป 
=> ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง 
=> พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
  • การตัดสินใจ
=>ครูตเองตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ไตร่ตรองให้ดีก่อนพูด
=> พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการ้รียนรู้ของเด็กหรือไม่ 

กิจกรรมที่ 3
ร้องเพลง " ฝึกกายบริหาร "

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งเเรง

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งเเรง

รูปทรงสมส่วนเเคล่วคล่องว่องไว

รูปทรงสมส่วนเเคล่วคล่องว่องไว
ผู้เเต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

การนำไปประยุกต์ใช้
  • ได้รู้เเนวทางว่าไม่ควรตัดสินหรือวินิจฉัยเด็กในทันที เเต่ควรมองเด็กให้เป็นภาพรวมก่อนและสังเกตเป็นระยะนานพอที่จะวินิจฉัยอาการหรือ พฤติกรรมบกพร่องของได้เด็ก
  • ได้รู้เเนวทางในการตัดสินใจหรือการให้ความสำคัญของปัญหาที่จะได้รับการเเก้ไขก่อน- หลังตามลำดับ
  • ได้รู้วิธีว่าเราควรบันทึกหรือบรรบายพฤติกรรมของเด็กตามสภาพความเป็นจริง โดยไม่ใส่ความรู้สึกตนเองลงไป
  • การช่วยเหลือชี้เเนะให้ความรู้กับพ่อเเม่ผู้ปกครองในการดูเเลและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • ครูควรตระหนักและรู้จักวางตัวให้ดีต่อเด็ก มองเด็กทุกคนในทางที่ดีในเเง่บวก ไม่มองหรือว่าเด็กในทางลบ
  • ได้เรียนรู้ว่าถ้าอนาคตเป็นครูเราจะไม่พูดหรือว่าเด็กในทางที่ไม่ดี เช่น การตั้งฉายาให้เด็กห้ามทำเพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมีปมด้อย และอาจเป็นตราประทับติดตัวเด็กไปตลอด
  • ครูที่ดีควรมีสื่อหรือกิจกรรมที่หลากหลายในการสอนเด็ก การร้องเพลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ครูสามารถจะกิจกรรมในชั้นเรียนกับเด็กได้ เเละการร้องเพลงยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในการคิดท่าทางอย่างสร้างสรรค์ได้
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง: วันนี้รู้สึกสนุกกับการเรียนมากได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ได้วาดรูปดอกทานตะวัน เเต่รู้สึกว่าตนเองจะวาดช้าและทำงานช้าตลอดเพื่อนส่วนมากทำเสร็จเเล้ว เเต่หนูยังทำไม่เสร็จเลยรู้สึกว่าเป็นตนเองทำงานช้ามาก( หนูเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลยในการที่จะทำงานในเเต่ละชิ้นที่ใช้เวลาจำกัด) แต่หนูก็ทำงานที่อาจารย์สั่งครบถ้วนได้ ( อาจช้าไปนิดนะค่ะ ) และก็ชอบกิจกรรมร้องเพลงด้วยถึงจะร้องไม่ค่อยเพราะเพี้ยนไปบางหรือเหมือนท่องอขยานไปบางเเต่รับรองว่าตั้งใจสุดๆเลยค่ะ เพราะว่าหนูรู้สึกว่าเพลงเด็กเวลาร้องหรือฟังรู้สึกเป็นจังหวะสนุกแฝงด้วยทำนองน่ารักๆอยู่ในเพลงฟังเเล้วเหมือนโลกสดใส  
  • ประเมินเพื่อน:  เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานมาก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ตั้งใจวาดภาพดอกทานตะวันทุกคนเลย บางคนก็มาถ่ายรูปดอกทานตะวันบนจอที่อาจารย์ให้เป็นเเบบ เพื่อนำไปวาดบางคนก็มองที่จอเเล้ววาด บางคนสายตาอาจไม่ค่อยดีอาจใส่เเว่นตาเพื่อเป็นการมองเห็นที่มีความชัดยิ่งขึ้น ( หนูก็ใส่ค่ะ เพื่อความคมชัดในการเก็บรายละเอียดของภาพ ล้อเล่นค่ะสายตาไม่ดีนั่นเองค่ะ =_=  )   
  • ประเมินอาจารย์:อาจารย์สอนสนุก ให้ความรู้เนื้อหาที่เข้าใจง่ายชัดเจน หนูชอบเวลาอาจารย์เล่าเรื่องหรือเล่าประสบการณ์ต่างๆ เวลาอาจารย์พูดหรือเล่าอะไรสีหน้า เเววตา น้ำเสียงของอาจารย์ ทำให้รู้สึกอบอุ่นเเละมีรอยยิ้มอย่างบอกไม่ถูก ถึงเเม้เรื่องอาจจะไม่ดูสนุกหรือน่าตื่นเต้นมากนัก เเต่ทุกคนนั้งเงียบรอฟังอาจารย์รอลุ้นอาจารย์เล่าไปเรื่อยๆ และตอนที่อาจารย์ร้องเพลงทำให้บรรยายกาศในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่น่าเบื่อเลยค่ะ