Welcome to Blogger

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่13


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่13

วัน  อังคาร  ที่  21  เมษายน  พ.ศ. 2558

เนื้อหา / กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 ดิ่งพสุธา => เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน



เนื้อหาที่เรียน => โปรมเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP 

โปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized  Education  Program )

  • แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสารถของเขา
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP สร้างเเล้วต้องให้ผู้ปกครองดูก่อนและเซ็นอนุญาติก่อนที่จะนำมาใช้ เพราะเราจะต้องเอาไปใช้เป็นแผนการสอนกับลูกของผู้ปกครองคนนั้น

  • การเขียนเเผน

- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องครูว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้แล้วจึงเริ่มเขียนเเผน IEP

  • IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามรถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
-วิธีการประเมินผล

  • ประโยชน์ต่อเด็ก

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียน

  • ประโยชน์ต่อครู

- เป็นเเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

  • ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าลูกของตนเป็นอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 

1. การรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ 
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ 
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น  
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
กิจกรรมที่ 1เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน

กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมกลุ่ม >> อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ ช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

การนำไปประยุกต์ใช้

  • การเขียนเเผน IEP เราจะต้องให้ผู้ปกครองได้ดูข้อมูลรายละเอียดของเเผนที่สร้างขึ้น โดยใช้เเผนนี้กับลูกของท่านว่าเเผนนี่ใช้ได้ไหม เหมาะสมกับเด็กหรือไม่ และต้องให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบก่อนถึงจะใช้เเผนIEPนี้ได้
  •  การเขียนแผน IEP  เราจะต้องทราบข้อมูลเด็ก และพฤติกรรมต่างๆของเด็กก่อนที่จะเขียนแผน  และนำไปใช้ให้ตรงกับความสามารถ ความต้องการของเด็ก ว่าเด็กมีทักษะ หรือมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง  เพื่อที่เราจะได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กได้
  • สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปเขียนได้อย่างถูกต้อง 
  • การเขียนแผน IEP เป็นแนวทางในการสอนทีทำให้ครูมีเป้าหมายที่ชัดเจนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  •  เราสามารถประเมินผลได้จากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมในด้านต่างๆของเด็ก ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด
  • การเขียนเเผนIEP นั้นเราจะต้องหาข้อมูลจากเเหล่งข้อมูลใดบ้าง เช่น ข้อมูลรายงานทางการเเพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ และบันทึกจากผู้ปกครอง ครู  ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ได้ทราบเเนวทางการเขียนเเผน IEP  ทั้ง2 แบบ คือแบบระยะสั้นและระยะยาว
    


การประเมิน

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกความรู้เพิ่มเติม เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน รู้สึกว่าการเขียนแผน IEP ไม่ค่อยยากและซับซ้อนมากนักอย่างที่คิด  แต่จะต้องรู้ข้อมูล และพฤติกรรมของเด็กได้เป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มและการตอบคำถามของอาจารย์และฟังคำชี้เเจงรายละเอียดการนัดมาเรียนชดเชยในสัปดาห์หน้า
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจ และให้ร่วมมือในการช่วยคิดกิจกรรมกลุ่ม การเขียนแผน IEP 
  • ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบอาจารย์ชี้เเจงรายละเอียดการเรียนชดเชยได้อย่างชัดเจน  มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายในเนื้อหาวิชา  มีกิจกรรมหรือคำถามที่ทำให้นักศึกษา ได้ผ่อนคลายความเครียด ได้ยิ้มหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน



วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 12


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 12

วัน อังคาร  ที่  7  เมษายน  พ.ศ. 2558

เนื้อหา / กิจกรรม ในวันนี้
>> อาจารย์เฉลยข้อสอบ และพูดอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเเก้ปัญหาเด็กพิเศษให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นในเเต่ละข้อที่อาจารย์ออกสอบ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน  
** การเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางสังคม  ทักษะภาษา  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะพื้นฐานทางการเรียน จะเป็นทักษะเตรียมความพร้อมในการเขียนเเผน IEP **
  • เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้ "
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
  •  ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
** 3-5 ขวบ ความสนใจของเด็กปกติประมาณ 10-15 นาที
** เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ 2-3 นาที
  • การเลียนเเบบ
เด็กชอบเลียนเเบบ
- พี่ 
- เพื่อน
- ครู
  • การทำตามคำสั่ง คำเเนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ึครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
  • การรับรู้  การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส   กลิ่น  =====>  ตอบสนองอย่างเหมาะสม
  • การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
- การกรอกน้ำ















  - ต่อบล็อก







- ศิลปะ












- มุมบ้าน








- ช่วยเหลือตนเอง












  •  ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก




  • ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- เเกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของหายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • การวางเเผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กเเต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลี่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ฝึกร้องเพลงเด็ก 5  เพลง

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10

เพลง เเม่ไก่ออกไข่
เเม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง

เพลง ลูกเเมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า  บ็อก  บ็อก
เเมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง มอ  มอ
(ซ้ำ * )
ผู้เเต่ง อ. ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  เเจ่มถิน
 การนำไปประยุกต์ใช้
  • ได้ทราบเทคนิคว่าการจัดกิจกรรมให้เด็กทำควรคำนึงถึงระยะเวลาและความสนใจของเด็กว่าควรใช้ระยะเวลาประมาณไหน
  • ได้เรียนรู้ว่าควรเลือกวิธีไหนในการจัดกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้หรืออยากรู้อยากเห็นสำรวจสิ่งใหม่
  • จัดหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น ต่อบล็อก มุมบ้าน เป็นต้น
  • จัดกิจกรรมที่เป็นทักษะทางวิชาที่ทำให้เด็กเรียนเเล้วรู้สึกไม่น่าเบื่อ เกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น
  • เทคนิคการจัดหาเกมหรือกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทางด้านความจำให้เด็กพัฒนาสติปัญญาหรือสมองมากขึ้น
  • เป็นครูต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนที่เด็กจะมาถึง
  • ให้เเรงเสริมพูดให้คำชมในทางที่ดีกับเด็ก
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เนื้อหาเกี่ยวกับข้อสอบ ให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น และฝึกร้องเพลง 5 เพลง เสียงอ่านจะไม่ค่อยดีนัก ร้องอาจไม่ตรงคีย์บ้าง เเต่ก็ตั้งใจร้องนะค่ะ
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่อาจมีบางคนมาสายบ้างเล็กน้อย เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบ และตั้งใจเรียนดีมากเลยค่ะ
  • ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์สอนเนื้อหากระชับมีการอธิบายรายละเอียดเป็นข้อๆให้เข้าใจมากขึ้น และวันนี้อาจารย์เเจกสีให้นักศึกษาคนละกล่องด้วย อาจารย์บอกว่าเป็นเงินเหลือจากค่าวัสดุฝึกในวิชชานี้

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 11


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 11

วัน อังคาร ที่  31  มีนาคม  พ.ศ.2558

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  

>> เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันทำอุปกรณ์ที่ใช้ในวันกีฬาสีของสาขาเรา เพื่อใช้ทำกิจกรรมในวันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์