Welcome to Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่2


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่2

วัน อังคาร  ที่  20 มกราคม  พ.ศ.2558


ความรู้ที่ได้รับ

              การเรียนในวันนี้ครูสอนเกี่ยวกับ "รูปเเบบการจัดการศึกษา" พร้อมทำเเบบทดสอบหลังเรียน และการทบทวนเพลงในสัปดาห์ที่เเล้ว

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
* *ถ้ามีเด็กพิเศษมาเรียนรวมอยู่ในชั้นเรียนด้วย ครูควรบอกเด็กปกติว่าเด็กคนนี้เป็นอะไร เป็นการชี้เเจงให้เพื่อนๆในห้องเข้าใจแล้วยอมรับเพื่อนได้ เช่น ครูบอกว่าเพื่อนไม่ค่อยเเข็งเเรง เราต้องรักเพื่อนนะ คอยช่วยเหลือเพื่อนด้วย**
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่ร่วมกันเป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน ต้องเริ่มต้นการศึกษาตั้งแต่เล็กๆ แต่ละคนก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน”

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

** ทำไมต้องเริ่มตั้งเเต่เด็กปฐมวัย**
- เป็นการปูพื้นฐาน
- ช่วงปฐมวัยเชลล์สมองกำลังสร้างเด็กพร้อมที่จะรับทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว
  
กิจกรรม เเบบทดสอบความรู้หลังการเรียน
1. เด็กเรียนรวมมีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
ตอบ Inclusive Education Experiences Management for  Early Childhood
2. ความเเตกต่างระหว่างเด็กพิเศษเเบบเรียนรวมกับเด็กพิเศษเเบบเรียนร่วม เเตกต่างกันอย่างไร
ตอบ เด็กพิเศษเเบบเรียนรวม คือ เด็กที่ได้รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา โดยได้เรียนเหมือนกับเด็กปกติทุกอย่าง
เด็กพิเศษเเบบเรียนร่วม คือ เด็กที่ได้รับการส่งมาจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่ประสานงานกันกับโรงเรียนให้เข้ามาเรียนร่วมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น กิจกรรมศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้
3. การนำเด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวม ตั้งเเต่ปฐมวัยมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นการเปิดโอกาศให้เด็กพิเศษได้เรียนรวมเด็กปกติ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เด็กพิเศษได้พัฒนาทักษะความรู้ได้มากที่สุด เพราะช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยทองเเห่งการเรียนรู้ เป็นช่วงที่เซลล์สมองกำลังได้รับการเจริญเติบโตมากที่สุด เรียนรู้และจดจำได้ดี

การนำไปประยุกต์


  • การศึกษาหน่วยงานที่ให้ความรู้และความร่วมมือกับครูเมื่อมีเด็กพิเศษเรียนรวมด้วย
  • การนำความความรู้และข้อมูลต่างๆที่ได้เรียนและศึกษามาจัดเเผนการสอนให้ตามจุด เพื่อพัฒนาเด็กได้ถูกวิธีในการเรียนรู้
  • การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาศให้เด็กได้เเสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนกลุ่ม เช่น กิจกรรมศิลปะ เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนทักษะที่ง่ายๆ ในการช่วยเหลือตนเอง โดยไม่เป็นภาระของใคร ฝึกให้เด็กกล้าคิด กล้าเผชิญกับโลกภายนอก และใช้ชีวิตในสังคมได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน พร้อมจดบันทึกเนื้อหาความรู้ และตั้งใจฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัยเเต่อาจยังร้องไม่เพราะ ร้องไม่ค่อยตรงจังหวะ
ประเมินเพื่อน: เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และให้ความร่วมมือในการกิจกรรมร้องเพลงเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์: เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มีประสบการณ์ต่างๆมาเล่าให้นักศึกษาฟัง ฟังเเล้วรู้สึกเพลิดอยากฟังอีก เรียนเเล้วไม่เครียดไม่น่าเบื่อ ทำให้บรรยายกาศในห้องเรียนสนุกสนาน


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่1


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 1
วัน อังคาร  ที่ 13 มกราคม  พ.ศ.2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในวันนี้

=> อาจารย์เล่าเรื่องที่ไปจัดกิจกรรมกับพี่ปี4 ที่โรงเรียนจังหวัดบุรีรัมย์
=> อาจารย์เฉลยข้อสอบของวิชาเด็กพิเศษของเทอมที่แล้ว เพื่อให้นักศึกเข้าใจเนื้อความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนของเด็กพิเศษเเต่ละประเภทมากยิ่งขึ้น

กิจกรรม 
=>อาจารย์ให้นักศึกษาทำเเบบทดสอบความรู้ที่ได้เรียนมา

=>ร้องเพลงเด็กปฐมวัย



การประเมิน
  • ประเมินตนเอง:เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และฟังอาจารย์สอน พร้อมจดบันทึกความรู้ วันนี้เรียนสนุกสมาก ไม่เครียด ได้ฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 5 เพลง แล้วก้ได้ร้องให้อาจารย์กลุ่มละ 5 คน รู้สึกกลุ่มของหนูคงจะร้องเสียงไม่ตรงจังหวะมากนัก อาจ่ารย์ไม่พูดอะไรได้เเต่ยิ้มแล้วไปฟังกลุ่มร้องต่อ ทำให้บรรยายกาศในห้องเรียนรู้สึกสนุกสนานมีความสุขมากๆเลยค่ะ
  • ประเมินเพื่อน:เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน และร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อนๆ
  • ประเมินอาจารย์:เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์สอนสนุกเรียนเเล้วไม่เครียดและยังให้ความรู้เนื้อหาที่เข้าใจง่ายมากขึ้น